Wednesday, June 25, 2014

ว่าด้วยเรื่อง Virtualization

Virtualization
ก่อนที่เราจะลงลึกกันเรามาทำความรู้จักกับเจ้าคำว่า Virtualization กันก่อนดีกว่า

VIRTUALIZATION

     ไอเจ้า virtualization ก็คือ สถาปัตยกรรมเครื่องจักรกลเสมือน หรือพูดให้ดข้าใจก็คือ ซอฟท์แวร์ที่ทำการสร้างคอมพิวเตอร์จำลองขึ้นมานั่นเอง

     แล้วจะจำลองเพื่ออะไร คือยังไง
     เทคโนโลยีนี้นะครับ ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลต่างๆเพื่อเพิ่มประโยชน์ในด้าน IT ครับโดยเหตุผลหลักๆก็เช่น
          - ใช้ทรัพยากรของเครื่องให้เต็มที่ ต้องบอกก่อนนะครับว่าโดยปกติแล้วเครื่องเซิฟเวอร์หนึ่งตัวนั้น ส่วนมากแล้วใช้ทรัพยากรของเครื่องเพียงแค่ 30-40% เท่านั้น และส่วนใหญ่จะใช้แค่หนึ่งบรการต่อหนึ่งเครื่องเซิฟเวอร์เท่านั้น ซึ่งเค้ามองว่ามันสิ้นเปลืองมาก เค้าจึงได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาเพื่อทำการลดต้นทุนและลดการใช้ทรัพยากรของโลกอีกด้วย (Green IT ก็เป็นคอนเซปท์ที่หลายเจ้าใช้กัน)
          - ง่ายต่อการบริหารจัดการ เพราะเทคโนโลยีนี้จะทำให้ทุกอย่างมาจัดการอยู่ที่จุดๆเดียวได้ครับโดยใช้ตัว management ในการเข้าไปจัดการ
          - Migration ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย
          - High Availability ความต่อเนื่องของการให้บริการ อันนี้ก็เป็นจุดเด่นของ virtualize เช่นกันครับ

ทีนี้ก็รู้แล้วนะครับว่าเจ้า Virtualization มันคืออะไร

ทีนี้ จะแบ่ง virtualization เป็นสองประเภทนะครับ ตามการใช้งาน
1. Server Virtualization
2. Destop Virtualization ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการทำ Destop Virtualization อย่าง Vmware Horizon View นะครับ ผมจะพูดถึงแค่ตัว workstation

Server Virtualization
        Server Virtualization ก็คือการทำเครื่องแม่ข่ายเสมือน แล้วการที่จะทำได้ก็จะใช้ Hyperviser เป็นตัวกลางในการจัดการ
        ซึ่ง Hyperviser ก็แบ่งย่อยๆได้เป็น

1. Bare-metal คือ VMM ที่ติดตั้งอยู่บนฮาร์ดแวร์โดยตรง คือ Hardware > VMM > VM
      ข้อดีคือ สายบังคับบัญชาสั้น ใช้งานทรัพยากรระบบได้ดี ระบบความปลอดภัยดีกว่าเพราะไม่ต้องห่วงเรื่องระบบความปลอดภัยของ Host OS
      ข้อเสียคือ ฮาร์ดแวร์ที่รองรับมีน้อย เพราะไม่มีชั้นของ OS ให้เราสามารถติดตั้ง Driver ได้ แต่ในปัจจุบัน ด้าน Hardware vendor ก็ได้มีการจัดทำตัว Hyperviser แบบ custom install ให้แล้วมากมายครับ
      ตัวอย่างของประเภทนี้ก็ VMware ESXi ครับ
2. Hosted คือ VMM ที่ติดอยู่บน OS อีกทีหนึ่ง คือ Hardware > OS > VMM > VM
      ข้อดีและข้อเสียก็กลับกันกับแบบข้างต้นนั่นแล
      ส่วนของฝั่งนี้ก็เช่น Microsoft Hyper-V นั่นเองครับ

ส่วนด้าน Desktop ก็ส่วนมากจะใช้เพื่อทดสอบระบบ ทดสอบซอฟแวร์ต่างครับ โดยจะทำการติดตั้งซอฟท์แวร์ VMware workstaion ลงบนเครื่องแล้วทำการลง OS ลงไปครับ การทำวิธีนี้ทำให้ตัดปัญหาความยุ่งยากสำหรับผู้ที่ต้องการลงหลาย OS บนเครื่องเดียวกันครับ วิธีนี้จะไม่ต้องยุ่งยากทำ dual boot แต่แค่เปิดโปรแกรมและติดตั้ง OS ครับ แต่จะมีข้อเสียก็ตรงมันไม่ลื่นเท่าฮาร์ดแวร์จริงก็เท่านั้นเองครับ

สำหรับความรู้เบื้องต้นคงจบเพยีงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วจะมาต่อกันที่ค้างไว้ก็คือการลง OS บน VMware workstaion ครับ

No comments:

Post a Comment